พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
ภาพถ่าย ท่านเจ้...
ภาพถ่าย ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล (วร ) วัดไชโย อ่างทอง
ภาพถ่าย ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล โสภโชติเถร (วร อินทรสมบูรณ์) อดีตเจ้าคณะอำเภอไชโย และ เจ้าอาวาสวัดไชโยวรวิหาร รูปที่ ๖ เมื่อครั้งมีสมณะศักดิ์ที่ พระครูมหาพุทธพิมพาภิบาล ท่านเป็นบุตรของนายอิ่ม นางพ่วง อินทรสมบูรณ์ นามเดิม วร นามสกุล อินทรสมบูรณ์ เกิดที่บ้านสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ณ.วันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๒๔ เวเลา ๑๕.๐๐ น. เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ก็ได้พรรพชาอุปสมบท ฌ พัทธสีมา วัดบ้านป่า ตำบลตรีณรงค์ อำเภอไชโย จังหวัอ่างทอง เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดื่อน ๕ ปีขาล เสร็จญัตติจตุตกรรม เวลา ๑๔.๐๐ น. ตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ โดยมีเจ้าอธิการนิ่ม วัดบ้านป่า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เนียม วัดบ้านป่า เป็นพระกรรมจาจารย์ พระอาจารย์เพิ่ม วัดวงษ์ภาสน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้กลับมาอยู่วัดวงษ์ภาสน์ กับพระอาจารย์เพิ่ม อยู่จำพรรษา ณ วัดวงษ์ภาสน์ ต่อมาได้ทราบว่าได้ติดตามพระอาจารย์เพิ่ม ย้ายไปจำพรรษาอยู่ในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง คือวัดสุวรรณเสวริยาราม ต.ตลาดกรวด เมื่อพรรษาครบ ๕ พรรษาแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดวงษ์ภาสน์กับพระอาจารย์พิ่ม ตามเดิมอีก ปรากฏว่าท่านเป็นผู้สนใจในการศึกษา เป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในการท่องบ่น และการทำวัตร สวดมนต์มิได้ขาด เป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัย และขนบธรรมเนียมของทางสมณะเป็นอย่างดี ได้รับการยกย่องชมเชยของพระอาจารย์ และในหมู่เพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน ท่านได้ปฏิบัติตนในหน้าที่ๆท่านพระอาจารย์มอบหมายและสั่งให้ทำได้เรียบร้อย จนเป็นที่โปรดปรานและไว้วางใจของพระอาจารย์ เมื่อพระอาจารย์เพิ่มได้ลาสิกขาท่านก็ได้รับการยกย่องและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองสงฆ์ในวัดวงษ์ภาสน์สืบมา ในด้านส่วนตัวท่านปฏิบัติตนตั้งอยู่ในหลักของสังคหวัตถุธรรม ในด้านการปกครอง ท่านก็ยึดหลักพรหมวิหารธรรม และยุติธรรม ถือหลัก ๒ ประการ เป็นทางดำเนิน คือ นิคคหะและปัคคหะ ถือเป็นธรรมใหญ่ เห็นผิดก็ติ เห็นดีก็ชม ยึดมั่นในธรรมวินัย เป็นหลักปกครองสงฆ์ตลอดมา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) ปกครองสงฆ์วัดวงษ์ภาสน์ และในเขตตำบล ตลอดมา ในด้านการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ท่านก็ได้ทำการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ เสนาสนะและถาวรวัตถุในวัดวงษ์ภาสน์ให้เจริญขึ้นโดยลำดับ ในด้านการศึกษาก็จัดให้มีการศึกษาภาษาไทย และนักธรรมขึ้นในวัด โดยหาครูมาช่วยทำการสอน แม้เฉพาะส่วนตัวท่านๆก็ทำการสอนกุลบุตรและกุลธิดา ให้มีความรู้ความฉลาดในภาษาไทยเป็นอันมาก ท่านได้อบรมสั่งสอนภิกษุสามเณร และศิษย์วัด ตลอดทั้งสัปปุรุษทายกทายิกา ให้ตั้งอยู่ในธรรมวินัย และศีลธรรม ขนบธรรมเนียมที่ดีงาม ปรากฏเป็นที่นิยมยกย่องนับถือโดยทั่วไป ปฏิปทาของท่านจึงเป็นที่ยอมรับเชื่อถือไว้วางใจของพระผู้ใหญ่และเป็นที่เคารพรักใคร่นับถือของพระผู้น้อยที่อยู่ใต้ปกครอง และในเขตปกครองทั้งชาววัดชาวบ้าน แม้ในต่างถิ่นก็เคารพบูชา
ต่อมาเมื่อทางตำแหน่งเจ้าคณะแขวง (เจ้าคณะอำเภอ) ไชโยว่างลง เป็นสมัยที่สมเด็จพระวันรัต(เฮง) เขมจารรี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ พระนคร เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา ปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง ได้พิจารณาเห็นความเหมาะสมจึงได้ตกลงกับทางคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง ขอร้องให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไชโยวรวิหาร และทั้งเป็นผู้รักษาการ เจ้าคณะแขวงไชโยด้วย และตั้งให้เป็นพระปลัดฐานานุกรมใน พระราชสุธี ผู้ช่วเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เมื่่ครั้งมีสมณศักดิ์ที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (วิจิตร์) อาภากโร เปรียญ ๙ (ท่านได้เปรียญ ๙ เป็นลำดับที่ ๒ ของวัดหมาธาตุ) เมื่อ ๒๑ มิ.ย. ๒๔๗๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงไชโย เมื่อ ๑๔ พ.ค. ๒๔๗๗ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และ เจ้าคณะแขวง ในราชทินนามประจำพระอาราม ที่ พระครูมหาพุทธพิมพาภิบาล เมื่อ ๖ พ.ย. ๒๔๗๗ ต่อมาในวันที่ ๕ ธ.ค. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนขั้นเป็นพระราชคณะในราชทินนาม ที่ พระมหาพุทธพิมพาภิบาลฯ เมื่อได้มาอยู่ปกครองวัดไชโยวรวิหารแล้ว ก็ได้ตั้งใจปฏิบัตอหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นไปด้วยดีสม่ำเสมอ การปกครองทั้งภายในวัดและเขตปกครองด้านคณะสงฆ์ทั่วไปก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การปฏิสังขรณ์ก่อสร้างภายในวัด ก็ได้จัดการปฏิสังจรณ์ก่อสร้าง ทำให้วัดไชโยวรวิหารมีความเจริญขึ้นเป็นส่วนมาก ในส่วนสาธารณสงเคราะห์ ก็ได้จัดทำให้เป็นไปเท่าที่สามารถ แม้วัดต่างๆที่อยู่ในเขตปกครอง ก็ให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือทั่วๆไป วัดใดที่มีการก่อสร้างปฏิสังขรณ์เกิดขึ้น ปรากฏว่าท่านได้ไปเป็นประธษนแนะนำชี้แจ้ง ช่วยเหลือทั้งในส่วนกำลังกาย กำลังความคิด ตลอดทั้งทุนทรัพย์ส่วนตัวมากบ้าง น้อยบ้าง ตามควร ปฏิปทาของท่านในเรื่องนี้เป็นที่ปรากฏโดยทั่วไป เพราะความดีงามของท่านๆจึงได้รับแต่งตั้งจากทางคณะสงฆ์ เป็นองค์การสาธารณูปการทจังหวัดอ่างทอง ตามพระราชบัญญัติปกครองคระสงฆ์ ๒๔๘๔ ท่านได้ตั้งใจปฏิบัติกิจพระศาสนา โดยหวังความเจริญให้เกิดแก่วัดและพระศาสนา และพระพุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน ท่านเป็นผู้เคร่งครัดต่อระเบียบ และปฏิบัติกิจธุระในหน้าที่ และมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์โดยทั่วไป
ในระยะ ๔-๕ ปีต่อมานี้ ท่านก็มีวัยวัสสาอายุมากขึ้น สังขารของท่านอันประกอบไปด้วยคติธรรมดา ซึ่งเมื่อมีเกิดมาแล้วก็เริ่มแก่แปรปวนไป และมีพายาธิความป่วยไข้เข้าครอบงำ ท่านเริ่มป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ จังหวัดพระนคร และเข้ารักษาตัวในตึกสงฆ์อาพาธ จังหวัดอ่างทองบ่อยครั้ง เมื่อพักรักษาตัวพอทุเลาแล้วก็กลับมาอยู๋วัดปฏิบัติกิจของท่านต่อไป ท่านมีกำลังใจที่เข้มแข็ง อดทน หาผู้ใดเสมอได้ยาก แม้สังขารของท่านมีโรคภัยไข้เจ็บประจำอยู่แล้ว ก็ไม่ยอมนิ่งอยู่เฉยเช่นคนธรรมดา แม้ศืษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือในท่าน มีความปราถนาขอร้องให้ท่านได้มีเวลาพักผ่อน ท่านก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ มี.ค. ๒๕๐๙ ท่านก็เริ่มป่วยอีก บรรดาศิายานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือก็ต่ายช่วยกันรักษาพยาบาล เมื่อเห็นว่าจะไม่มีทางรักษาให้หายได้และไม่เป็นการปลิดภัย วันที่ ๒๑ มี.ค. จึงได้นำท่านไปรักษา ณ ตึกสงฆ์อาพาธ จังหวัดอ่างทอง นายแพทย์ผู้อำนวยการและนายแพทย์ พร้อมทั้งพยาบาลทุกๆคน ต่างก็ตั้งใจช่วยเหลือ เอาใจใส่รักษาพยาบาลเป็นอย่างดี ในไม่ช้าอาการป่วยของท่านก็ดีขึ้น ท่านได้ลุกขึ้นนั่งคุยสนทนากับผู้ที่พยาบาลและไปเยี่ยมท่านโดยทั่วกัน ต่างคนต่างก็ดีใจ เข้าใจว่าปลอดภัยแล้ว แต่ก็กลับตรงกันข้าม พอตกเวลากลางคืนอาการป่วยของท่าก็กำเริบขึค้นอีก ทางโรงพยาบาลต่างก็ให้การรักษาจนสุดความสามารถ โดยฉีดยาบำรุงหัวใจเข้าช่วย ให้น้ำเกลือและใช้อ๊อกซิเจนเข้าช่วย ใช้เครื่งตรวจระบบความเต้นของหัวใจ อาการของท่านก็ไม่ดีขึ้นมีแต่ทรงกับทรุด อยู๋มาจนถึงวันที่ ๒๕ มี.ค. ๒๕๐๙ เวลา ๒๓.๑๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๕ ทางจันทรคติ ท่านก็ได้ถึงแก่มรณะ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ จังหวัดอ่างทอง การมรณะและการจากไปของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล วร โสภโชติ ทำให้เกิดความเศร้าสลดและเสียใจยิ่ง เกิดแก่ผู้อยู่ใกล้ชิดและศิษยานุศิษย์ พร้อมทั้งบรรดาญาติ ตลอดทางคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือในพระคุณท่านทั่วกัน เพราะการจากไปของท่านไม่มีเวลาได้กลับมาวิสสาสัสนทนา และให้ได้พบเห็นดังเช่นเคย ยังคงมีเหลืองอยู่ก็เพียงภาพและคุณความดีของท่าน ที่ปรากฏและฝั่งอยู๋ในใจของศิษยานุศิษย์ และท่านที่รักใคร่และเคารพนับถือในพรคุณท่านเท่านั้น "รูปํ ชีรตติ มจฺจนาํ นามโคตฺตํ นชีรติ" ร่างกายของสัตว์ที่เกิดมาแล้ว ย่อมแตกสลายไปตามสภาพ แต่ชื่อเสียงและนามสกุลย่อมไม่สิ้นสูญ "อโมฆํ ตสฺสชีวิตํ" ท่านได้ทำประโยชน์ในชีวิตของท่านสมบูรณ์ ชีวิตของท่านจึงไม่เปล่าปราศจากประโยชน์ ท่านเกิดมาดีและก็อยู๋ดีและก็ตายดี เมื่อเป็นเช่นนี้ สุคติ จึงเป็นของท่าน โดยไม่ต้องสงสัย และ "ท่านเป็นพระเถรผู้ใหญ่ เป็นพระราชาคณะรูปแรก ของอำเภอไชโย และวัดไชโยวรวิหาร เป็นเจ้าคณะอำเภอไชโย เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท ท่านมากด้วยวัยวุฒิ และกาลพรรษา แม้แต่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง ยังให้ความเคารพ ในตัวท่าน (เมื่อมีกิจนิมนต์ ที่ไม่ใช่งานราชพิธี หรือรัฐพิธี ที่ต้องใช้พัดยศ หลวงปู่วร จะนั่งเป็นประธานสงฆ์ เสมอ)
ผู้เข้าชม
836 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
rachaiyo
ชื่อร้าน
พุทธพิมพ์
ร้านค้า
chaiyo.99wat.com
โทรศัพท์
0818158299
ไอดีไลน์
tuonly , 0818158299
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 146-0-55888-3
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 406-5-16595-4
พระบูชา พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโ
นางกวัก หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
ภาพถ่าย หลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง ส
ภาพถ่าย สมเด็จพุฒาจารย์โต
พระชินราชผงน้ำมัน สมเด็จพระพุฒ
พระสมเด็จเกสร หลวงพ่อแพ วัดพิก
รูปถ่าย หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพช
สมเด็จหลวงพ่อเกรียง วัดวังน้ำเ
ภาพถ่าย อุปัชฌาย์สอน
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Art.thanathon
kaew กจ.
ศิษย์หลวงปู่หมุน
Mannan4747
ponsrithong2
kumpha
น้ำตาลแดง
NongBoss
someman
แมวดำ99
BAINGERN
ปลั๊ก ปทุมธานี
โจ้ ลำนารายณ์
Kittipan
aofkolok
Le29Amulet
ยุ้ย พลานุภาพ
chaithawat
เนินพระ99
AmuletMan
ep8600
มนต์เมืองจันท์
rachaiyo
หริด์ เก้าแสน
ชา วานิช
termboon
tawewatNP
เธียร
stp253
hra7215
ผู้เข้าชมขณะนี้ 642 คน
เพิ่มข้อมูล
ภาพถ่าย ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล (วร ) วัดไชโย อ่างทอง
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
ภาพถ่าย ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล (วร ) วัดไชโย อ่างทอง
รายละเอียด
ภาพถ่าย ท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล โสภโชติเถร (วร อินทรสมบูรณ์) อดีตเจ้าคณะอำเภอไชโย และ เจ้าอาวาสวัดไชโยวรวิหาร รูปที่ ๖ เมื่อครั้งมีสมณะศักดิ์ที่ พระครูมหาพุทธพิมพาภิบาล ท่านเป็นบุตรของนายอิ่ม นางพ่วง อินทรสมบูรณ์ นามเดิม วร นามสกุล อินทรสมบูรณ์ เกิดที่บ้านสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ณ.วันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๒๔ เวเลา ๑๕.๐๐ น. เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ก็ได้พรรพชาอุปสมบท ฌ พัทธสีมา วัดบ้านป่า ตำบลตรีณรงค์ อำเภอไชโย จังหวัอ่างทอง เมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดื่อน ๕ ปีขาล เสร็จญัตติจตุตกรรม เวลา ๑๔.๐๐ น. ตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ โดยมีเจ้าอธิการนิ่ม วัดบ้านป่า เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เนียม วัดบ้านป่า เป็นพระกรรมจาจารย์ พระอาจารย์เพิ่ม วัดวงษ์ภาสน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้กลับมาอยู่วัดวงษ์ภาสน์ กับพระอาจารย์เพิ่ม อยู่จำพรรษา ณ วัดวงษ์ภาสน์ ต่อมาได้ทราบว่าได้ติดตามพระอาจารย์เพิ่ม ย้ายไปจำพรรษาอยู่ในเขตอำเภอเมืองอ่างทอง คือวัดสุวรรณเสวริยาราม ต.ตลาดกรวด เมื่อพรรษาครบ ๕ พรรษาแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดวงษ์ภาสน์กับพระอาจารย์พิ่ม ตามเดิมอีก ปรากฏว่าท่านเป็นผู้สนใจในการศึกษา เป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในการท่องบ่น และการทำวัตร สวดมนต์มิได้ขาด เป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัย และขนบธรรมเนียมของทางสมณะเป็นอย่างดี ได้รับการยกย่องชมเชยของพระอาจารย์ และในหมู่เพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน ท่านได้ปฏิบัติตนในหน้าที่ๆท่านพระอาจารย์มอบหมายและสั่งให้ทำได้เรียบร้อย จนเป็นที่โปรดปรานและไว้วางใจของพระอาจารย์ เมื่อพระอาจารย์เพิ่มได้ลาสิกขาท่านก็ได้รับการยกย่องและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองสงฆ์ในวัดวงษ์ภาสน์สืบมา ในด้านส่วนตัวท่านปฏิบัติตนตั้งอยู่ในหลักของสังคหวัตถุธรรม ในด้านการปกครอง ท่านก็ยึดหลักพรหมวิหารธรรม และยุติธรรม ถือหลัก ๒ ประการ เป็นทางดำเนิน คือ นิคคหะและปัคคหะ ถือเป็นธรรมใหญ่ เห็นผิดก็ติ เห็นดีก็ชม ยึดมั่นในธรรมวินัย เป็นหลักปกครองสงฆ์ตลอดมา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) ปกครองสงฆ์วัดวงษ์ภาสน์ และในเขตตำบล ตลอดมา ในด้านการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ท่านก็ได้ทำการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ เสนาสนะและถาวรวัตถุในวัดวงษ์ภาสน์ให้เจริญขึ้นโดยลำดับ ในด้านการศึกษาก็จัดให้มีการศึกษาภาษาไทย และนักธรรมขึ้นในวัด โดยหาครูมาช่วยทำการสอน แม้เฉพาะส่วนตัวท่านๆก็ทำการสอนกุลบุตรและกุลธิดา ให้มีความรู้ความฉลาดในภาษาไทยเป็นอันมาก ท่านได้อบรมสั่งสอนภิกษุสามเณร และศิษย์วัด ตลอดทั้งสัปปุรุษทายกทายิกา ให้ตั้งอยู่ในธรรมวินัย และศีลธรรม ขนบธรรมเนียมที่ดีงาม ปรากฏเป็นที่นิยมยกย่องนับถือโดยทั่วไป ปฏิปทาของท่านจึงเป็นที่ยอมรับเชื่อถือไว้วางใจของพระผู้ใหญ่และเป็นที่เคารพรักใคร่นับถือของพระผู้น้อยที่อยู่ใต้ปกครอง และในเขตปกครองทั้งชาววัดชาวบ้าน แม้ในต่างถิ่นก็เคารพบูชา
ต่อมาเมื่อทางตำแหน่งเจ้าคณะแขวง (เจ้าคณะอำเภอ) ไชโยว่างลง เป็นสมัยที่สมเด็จพระวันรัต(เฮง) เขมจารรี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ พระนคร เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา ปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง ได้พิจารณาเห็นความเหมาะสมจึงได้ตกลงกับทางคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง ขอร้องให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไชโยวรวิหาร และทั้งเป็นผู้รักษาการ เจ้าคณะแขวงไชโยด้วย และตั้งให้เป็นพระปลัดฐานานุกรมใน พระราชสุธี ผู้ช่วเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เมื่่ครั้งมีสมณศักดิ์ที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (วิจิตร์) อาภากโร เปรียญ ๙ (ท่านได้เปรียญ ๙ เป็นลำดับที่ ๒ ของวัดหมาธาตุ) เมื่อ ๒๑ มิ.ย. ๒๔๗๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงไชโย เมื่อ ๑๔ พ.ค. ๒๔๗๗ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และ เจ้าคณะแขวง ในราชทินนามประจำพระอาราม ที่ พระครูมหาพุทธพิมพาภิบาล เมื่อ ๖ พ.ย. ๒๔๗๗ ต่อมาในวันที่ ๕ ธ.ค. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนขั้นเป็นพระราชคณะในราชทินนาม ที่ พระมหาพุทธพิมพาภิบาลฯ เมื่อได้มาอยู่ปกครองวัดไชโยวรวิหารแล้ว ก็ได้ตั้งใจปฏิบัตอหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นไปด้วยดีสม่ำเสมอ การปกครองทั้งภายในวัดและเขตปกครองด้านคณะสงฆ์ทั่วไปก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การปฏิสังขรณ์ก่อสร้างภายในวัด ก็ได้จัดการปฏิสังจรณ์ก่อสร้าง ทำให้วัดไชโยวรวิหารมีความเจริญขึ้นเป็นส่วนมาก ในส่วนสาธารณสงเคราะห์ ก็ได้จัดทำให้เป็นไปเท่าที่สามารถ แม้วัดต่างๆที่อยู่ในเขตปกครอง ก็ให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือทั่วๆไป วัดใดที่มีการก่อสร้างปฏิสังขรณ์เกิดขึ้น ปรากฏว่าท่านได้ไปเป็นประธษนแนะนำชี้แจ้ง ช่วยเหลือทั้งในส่วนกำลังกาย กำลังความคิด ตลอดทั้งทุนทรัพย์ส่วนตัวมากบ้าง น้อยบ้าง ตามควร ปฏิปทาของท่านในเรื่องนี้เป็นที่ปรากฏโดยทั่วไป เพราะความดีงามของท่านๆจึงได้รับแต่งตั้งจากทางคณะสงฆ์ เป็นองค์การสาธารณูปการทจังหวัดอ่างทอง ตามพระราชบัญญัติปกครองคระสงฆ์ ๒๔๘๔ ท่านได้ตั้งใจปฏิบัติกิจพระศาสนา โดยหวังความเจริญให้เกิดแก่วัดและพระศาสนา และพระพุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน ท่านเป็นผู้เคร่งครัดต่อระเบียบ และปฏิบัติกิจธุระในหน้าที่ และมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์โดยทั่วไป
ในระยะ ๔-๕ ปีต่อมานี้ ท่านก็มีวัยวัสสาอายุมากขึ้น สังขารของท่านอันประกอบไปด้วยคติธรรมดา ซึ่งเมื่อมีเกิดมาแล้วก็เริ่มแก่แปรปวนไป และมีพายาธิความป่วยไข้เข้าครอบงำ ท่านเริ่มป่วยและต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ จังหวัดพระนคร และเข้ารักษาตัวในตึกสงฆ์อาพาธ จังหวัดอ่างทองบ่อยครั้ง เมื่อพักรักษาตัวพอทุเลาแล้วก็กลับมาอยู๋วัดปฏิบัติกิจของท่านต่อไป ท่านมีกำลังใจที่เข้มแข็ง อดทน หาผู้ใดเสมอได้ยาก แม้สังขารของท่านมีโรคภัยไข้เจ็บประจำอยู่แล้ว ก็ไม่ยอมนิ่งอยู่เฉยเช่นคนธรรมดา แม้ศืษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือในท่าน มีความปราถนาขอร้องให้ท่านได้มีเวลาพักผ่อน ท่านก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ มี.ค. ๒๕๐๙ ท่านก็เริ่มป่วยอีก บรรดาศิายานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือก็ต่ายช่วยกันรักษาพยาบาล เมื่อเห็นว่าจะไม่มีทางรักษาให้หายได้และไม่เป็นการปลิดภัย วันที่ ๒๑ มี.ค. จึงได้นำท่านไปรักษา ณ ตึกสงฆ์อาพาธ จังหวัดอ่างทอง นายแพทย์ผู้อำนวยการและนายแพทย์ พร้อมทั้งพยาบาลทุกๆคน ต่างก็ตั้งใจช่วยเหลือ เอาใจใส่รักษาพยาบาลเป็นอย่างดี ในไม่ช้าอาการป่วยของท่านก็ดีขึ้น ท่านได้ลุกขึ้นนั่งคุยสนทนากับผู้ที่พยาบาลและไปเยี่ยมท่านโดยทั่วกัน ต่างคนต่างก็ดีใจ เข้าใจว่าปลอดภัยแล้ว แต่ก็กลับตรงกันข้าม พอตกเวลากลางคืนอาการป่วยของท่าก็กำเริบขึค้นอีก ทางโรงพยาบาลต่างก็ให้การรักษาจนสุดความสามารถ โดยฉีดยาบำรุงหัวใจเข้าช่วย ให้น้ำเกลือและใช้อ๊อกซิเจนเข้าช่วย ใช้เครื่งตรวจระบบความเต้นของหัวใจ อาการของท่านก็ไม่ดีขึ้นมีแต่ทรงกับทรุด อยู๋มาจนถึงวันที่ ๒๕ มี.ค. ๒๕๐๙ เวลา ๒๓.๑๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๕ ทางจันทรคติ ท่านก็ได้ถึงแก่มรณะ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ จังหวัดอ่างทอง การมรณะและการจากไปของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระมหาพุทธพิมพาภิบาล วร โสภโชติ ทำให้เกิดความเศร้าสลดและเสียใจยิ่ง เกิดแก่ผู้อยู่ใกล้ชิดและศิษยานุศิษย์ พร้อมทั้งบรรดาญาติ ตลอดทางคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือในพระคุณท่านทั่วกัน เพราะการจากไปของท่านไม่มีเวลาได้กลับมาวิสสาสัสนทนา และให้ได้พบเห็นดังเช่นเคย ยังคงมีเหลืองอยู่ก็เพียงภาพและคุณความดีของท่าน ที่ปรากฏและฝั่งอยู๋ในใจของศิษยานุศิษย์ และท่านที่รักใคร่และเคารพนับถือในพรคุณท่านเท่านั้น "รูปํ ชีรตติ มจฺจนาํ นามโคตฺตํ นชีรติ" ร่างกายของสัตว์ที่เกิดมาแล้ว ย่อมแตกสลายไปตามสภาพ แต่ชื่อเสียงและนามสกุลย่อมไม่สิ้นสูญ "อโมฆํ ตสฺสชีวิตํ" ท่านได้ทำประโยชน์ในชีวิตของท่านสมบูรณ์ ชีวิตของท่านจึงไม่เปล่าปราศจากประโยชน์ ท่านเกิดมาดีและก็อยู๋ดีและก็ตายดี เมื่อเป็นเช่นนี้ สุคติ จึงเป็นของท่าน โดยไม่ต้องสงสัย และ "ท่านเป็นพระเถรผู้ใหญ่ เป็นพระราชาคณะรูปแรก ของอำเภอไชโย และวัดไชโยวรวิหาร เป็นเจ้าคณะอำเภอไชโย เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท ท่านมากด้วยวัยวุฒิ และกาลพรรษา แม้แต่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระโพธิวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง ยังให้ความเคารพ ในตัวท่าน (เมื่อมีกิจนิมนต์ ที่ไม่ใช่งานราชพิธี หรือรัฐพิธี ที่ต้องใช้พัดยศ หลวงปู่วร จะนั่งเป็นประธานสงฆ์ เสมอ)
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
842 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
rachaiyo
ชื่อร้าน
พุทธพิมพ์
URL
http://www.chaiyo.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0818158299
ID LINE
tuonly , 0818158299
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
3. ธนาคารกรุงเทพ / 146-0-55888-3
4. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 406-5-16595-4
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี